Translate

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

5ประเทศแปลกที่ บูชา อวัยวะเพศชาย


5ประเทศแปลกที่ บูชา อวัยวะเพศชาย
โดยมีความคิดของนักมานุษวิทยาเกี่ยวกับเรื่องการบูชาอวัยวะเพศในสมัยก่อนว่า คนโบราณในอดีตนั้นชอบสังเกตธรรมชาติ จึงมีการบูชา "กระปู๋"

ขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญพันธุ์ ดังนั้นด้วยความเชื่อนี้จึงเป็นที่มาของลัทธิบูชา "กระปู๋" (Phallus Worship) ของคนทั่วโลก
1.ประเทศกรีก
โดยในประเทศกรีกนั้นมีวิหารไดโอนิซุสบนหมู่เกาะเดลอส (Delos) ซึ่งมีรูปปั้น "กระปู๋" เป็นสัญลักษณ์อยู่หน้าวิหาร เนื่องจากไดโอนิซุสเป็นเทพแห่งไวน์และองุ่นซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

นอกจากนี้พริอาพุส (Priapus)ลูกชายของไดโอนิซุส ซึ่งเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพแห่งอวัยวะเพศชาย ที่ว่ากันว่ามีขนาดของ "กระปู๋" ใหญ๋โตมหึมา และยังแข็งตลอดเวลาอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นเทพที่ชายหลายคนบูชากันในอดีต

2ประเทศอินเดีย
ในนประเทศอินเดียนั้นมีการบูชาศิวะลึงค์ ที่มีฐานรองเป็นรูปโยนี ซึ่งเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์

3ประเทศญี่ปุ่น
ในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีเทศกาลแห่ "กระปู๋" ยักษ์ประจำปี โดยนำกระปู๋ศักสิทธิ์มาทำความสะอาด
ที่บริเวณน้ำพุร้อน

ซึ่งมีความเชื่อว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนที่อยากมีลูก ในตอนท้ายพิธีต้องทำการขึ้นขี่กระปู๋ศักสิทธิ์นี้ จะทำให้สมดังใจปรารถนาได้

4ประเทศภูฏาน
ในประเทศภูฏานนั้นบริเวณหน้าบ้านเรือนจะมีการเขียนรูป "กระปู๋" ไว้เพื่อเป็นความเจริญรุ่งเรืองและช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย

นอกจากนี้ยังมีประเพณีการถือ "กระปู๋" เต้นระบอีกด้วย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

5.ประเทศไทย
บูชาปลัดขิก เป็นรูปจำลองอวัยวะเพศชาย มักทำด้วยไม้ ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง อ้ายขิกไอ้ขิก หรือ ขุนเพ็ด ก็เรียกปลัดขิกหรือขุนเพ็ดจัดเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งของคนไทย 

ปลัดขิกส่วนมากแกะสลักมาจากไม้ที่เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคล หรือบางทีอาจทำจาก หิน ทองเหลือง ทองแดง กัลปังหา เขา งา เขี้ยว ของสัตว์ แกะสลักเป็นรูปร่างเหมือนอวัยวะเพศชายแต่ไม่มีหนังหุ้มปลายอวัยวะ มีขนาดต่าง ๆ กันและยาวพอเหมาะกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เมื่อทำการแกะสลักแล้วก่อนนำมาบูชาเป็นเครื่องรางของขลังจะต้องทำการปลุกเสกโดยผู้มีความรู้ด้านไสยศาสตร์ หรือพระภิกษุ ซึ่งหากทำการปลุกเสกด้วยพระภิกษุเชื่อกันว่าจะได้รับพระพุทธคุณมาด้วย ในปัจจุบันจึงพบว่าปลัดขิกส่วนใหญ่มาจากการปลุกเสกของพระภิกษุ คนไทยส่วนใหญ่เชื่อกันว่าให้คุณแก่ผู้บูชา ส่วนชาวต่างชาติก็ทำเป็นของสะสม
ส่วนชื่อเรียก ปลัดขิก ไม่มีที่มาปรากฏชัดว่าเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น ส่วนคำว่า ปลัด หมายถึง ตำแหน่งรองจากตำแหน่งที่เหนือกว่าหรือสันนิษฐานว่าพ้องเสียงมาจากคำว่า ปราศวะ ในภาษาสันสกฤต แปลว่าเคียงข้าง เนื่องจากผู้บูชาปลัดขิกนิยมแขวนไว้ที่เอวหรือหากเป็นเด็กจะแขวนที่คอ เมื่อมีผู้พบเห็นแล้วเกิดหัวเราะเสียงดังคล้าย คิกๆคักๆ จึงอาจเพี้ยนมาเป็นปลัดขิก[

รายการบล็อกของฉัน